1

  1. วงกาสะลอง

ดอกไม้ดนตรีคำเมืองเติบโตกลางกาดกองเก่า ผ่านร้อน ฝน หนาว ย่างเข้าขวบปีที่15 กับภารกิจนำเสียงเพลงกำเมืองไปเจื่อยแจ้วทั่วแดนไทยด้วยสโลแกน “ยินดีจ้าดนักตี้ฮื้อเกียรติเพลงกำเมือง”

2

2.ร้าน Popcraft (คุณเธียรธนัช สุขวัฒนพันธ์)

ภาพรวมคือร้านที่เป็นศูนย์กลางความรู้ทางศิลปะและหัตถกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นหลัก เนื่องด้วยคุณเธียรธนัชเป็นวิทยากรสอนงานด้วย

ในส่วนของสินค้าก็จะออกแนวหัตถกรรมท้องถิ่นหรือร่วมสมัย งานผ้า/งานใบตอง/งานแกะสลักสบู่และผักผลไม้/งานตัดกระดาษ(ตุงชัย/โคมพื้นเมือง/เครื่องส่งเคราะห์) /งานจักสานพื้นฐาน/งานปั้นดินไทย/และอื่นๆ….. สินค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบบสั่งทำมากกว่าทำไว้แล้วค่อยขายครับ

3

3. The Little Bird Bakery (คุณธันยพงศ์ ปะระมะ)

ร้านเค้กสไตล์โฮมเมด มีเบเกอรี่ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มสำหรับเด็ก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2557 ด้วยความรักในการทำเค้กและเบเกอรี่ ทำขายปลีกบ้าง ทำขายส่งบ้าง เปิดร้านที่ต่างจังหวัดมาในระยะเวลาหนึ่งจึงได้ตัดสินใจเปิดร้านในท้องถิ่นของตัวเอง ในชื่อ “เดอะ ลิตเติลเบิร์ด” โดยทางร้านจะรับทำเค้กในโอกาสพิเศษ และตามเทศกาลต่างๆ คุกกี้ ขนมปังอบ รับทำอาหารชุด อาหารกล่อง ชุดอาหารว่างและเครื่องดื่ม

4

4. ร้านตะวันประดิษฐ์สานเกษตร

(คุณจตุพร วงศ์ตะวัน)

ตอนเด็กเราเห็นคนเฒ่าคนแก่ทำของเล่นของใช้ให้ลูกหลานเล่นใช้กัน พอมารุ่นหลังของบางอย่างก็เลือนลางไม่ทันยุค จึงเกิดความคิดอยากทำของเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อเอาไว้ให้ลูกหลานได้รู้ได้เห็น จึงทำของประดิษฐ์สานขึ้นมา เริ่มจากความรู้ของตนที่พอมีมาบ้าง แล้วต่อด้วยการถ่ายทอดจากคนเฒ่าคนแก่ ครูพักลักจำและการเรียนเสริมจากที่ต่างๆจนทำให้มีชิ้นงานเก็บสะสม จึงนำบางส่วนออกมาสู่การขาย สินค้าของร้านจะเป็นงานประดิษฐ์งานสานแบบพื้นบ้านเรียบๆง่ายๆไม่ปรุงแต่งมากสินค้าอีกส่วนเป็นพืชผลทางการเกษตร

5

5. บ้านดอกไม้แสงนภา (คุณแสงนภา ทองคำพันธ์)

เป็นงานประเภท งานแฮนเมด ส่วนมากจะเน้นเป็นผ้าหม้อห้อม เนื่องด้วยเวลาออกไปสอนตามโครงการณ์ต่างๆ ทางหน่วยงานจะให้เน้นให้ใช้เศษผ้าเป็นหลัก งานส่วนมากจึงผลิตสินค้าประเภทของฝากและของที่ระลึก

6

6. บ้านสามชอคราฟท์ (นางสุรางค์ ถิ่นสุข)

เป็นผลิตภัณฑ์งานจักสานไผ่ที่นำเสนอออกมาในรูปแบบของแพคเกจแบบต่างๆ สำหรับใส่อาหาร ขนม ของว่าง ของที่ระลึก โดยมีต้นแบบมาจากการนำลายสานเบื้องต้นคือลายขัดธรรมดา และลายเฉลว 6 (ลายโปร่ง)มาออกแบบสร้างชิ้นงาน 
1.ลายขัดธรรมดา
2.ลายเฉลว 

7

7. น้อมบุญ ผ้ามัดย้อม (คุณจีระพันธ์ วงค์ระแหง)

น้อมบุญ ผ้ามัดย้อมเริ่มจาก การทำสวนแบบวนเกษตร เริ่มปี 2550 แนวคิดทำสวนให้เป็นป่ามีต้นไม้พันธุ์ไม้หลากหลายชนิด พอต้นไม้โตก็นำมาใช้ประโยชน์เช่น นำใบไม้เปลือกไม้มาทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ มะกรูดทำแชมพูสมุนไพร สมุนไพรเช่น ขมิ้น ไพร เปล้าน้อย  นำมาทำยาหม่องสมุนไพร ภายใต้แบรนด์น้อมบุญ ทางร้านจึงมีสินค้าหลากหลายเกิดจากการสร้างมูลค่าจากสวนน้อมบุญ

8

8. กุ๊บลอนมีเรื่องเล่า (คุณกฤษฎนันท์ ทองนิภาวรรณ์)

“กุ๊บลอน”หมวกใบลานหมวกสานล้านนา ที่เห็นคุ้นชินตาตั้งแต่เกิด เป็นหัตถกรรมในครัวเรือน เดินไปทางไหนก็เห็นพี่ป้าน้าอาในชุมชนสานและเย็บกุ๊บลอนกันทุกครอบครัว ต่อมาหัตถกรรมพื้นบ้านชิ้นนี้ก็เลือนหายไปเรื่อยๆจากวิถึชุมชนจนแทบจะถูกลืมให้เหลือเพียงแค่อยู่ในความทรงจำ 

 

9

9. บ้านดอกไม้แสงนภา (คุณแสงนภา ทองคำพันธ์)

เป็นงานประเภท งานแฮนเมด ส่วนมากจะเน้นเป็นผ้าหม้อห้อม เนื่องด้วยเวลาออกไปสอนตามโครงการณ์ต่างๆ ทางหน่วยงานจะให้เน้นให้ใช้เศษผ้าเป็นหลัก งานส่วนมากจึงผลิตสินค้าประเภทของฝากและของที่ระลึก

 

สร้างมูล
ค่าเพิ่ม

พัฒนา
เศรษฐกิจ

ทุนทาง
วัฒนธรรม

ความเป็นมา

โครงการ “การสร้างมูลค่าเพิ่มและมูลค่าใหม่ของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม การบริการทางวัฒนธรรม และพื้นที่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในเขตเมืองเก่า จังหวัดแพร่” เป็นหนึ่งในโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยเรื่อง “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่เมืองแพร่ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจทางวัฒนธรรม”

ดำเนินงานโดยคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานวิจัยปี พ.ศ. 2564 จากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

โครงการจัดการทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่เมืองแพร่ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจทาง วัฒนธรรม

       ทำเลที่ตั้งสถิต ณ ย่านธุรกิจถนนเพลินจิต พื้นที่กว่า 6 ไร่ ออกแบบเป็นอาคารไฮไรส์สูง 61 ชั้น แน่นอนว่าเปิดบริการหลังสถานการณ์โควิด จึงเป็นทั้งอาคารอัจฉริยะ (smart building) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (environmental friendly) เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้เช่า

ล่าสุด ทีมผู้บริหารฝั่งเจ้าของโครงการ “กรณ์ ณรงค์เดช” ซีอีโอไรมอนแลนด์ และ “นายโทโมฮิโกะ เอกุชิ” เอ็มดีมิตซูบิชิ เอสเตท (ประเทศไทย) ลงนามสัญญาเช่าพื้นที่ขนาด 3,000 ตารางเมตร กับ “ประกรณ์ เมฆจําเริญ” ซีอีโอ และ “กุศล สังขนันท์” กรรมการอิสระ บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STARK ผู้ผลิตและให้บริการภาคอุตสาหกรรมชื่อดัง

จึงเป็นทั้งอาคารอัจฉริยะ (smart building) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (environmental friendly) เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้เช่า

      ทำเลที่ตั้งสถิต ณ ย่านธุรกิจถนนเพลินจิต พื้นที่กว่า 6 ไร่ ออกแบบเป็นอาคารไฮไรส์สูง 61 ชั้น แน่นอนว่าเปิดบริการหลังสถานการณ์โควิด จึงเป็นทั้งอาคารอัจฉริยะ (smart building) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (environmental friendly) เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้เช่า ทีมผู้บริหารฝั่งเจ้าของโครงการ “กรณ์ ณรงค์เดช” ซีอีโอไรมอนแลนด์ และ “นายโทโมฮิโกะ เอกุชิ” เอ็มดีมิตซูบิชิ เอสเตท (ประเทศไทย) ลงนามสัญญาเช่าพื้นที่ขนาด 3,000 ตารางเมตร กับ “ประกรณ์ เมฆจําเริญ”

ล่าขุมทรัพย์เมืองแพร่

เวิร์คชอป ล่าขุมทรัพย์แพร่วันที่ 14 มกราคม 2565สถานที่ แก้ววรรณา จ.แพร่

เป้าหมาย

       เวิร์คชอปที่ถูกออกแบบกระบวนการเรียนรู้ด้วยภาพ Visual Facilitation ผ่านปฏิสัมพันธ์หลัก 3 เรื่อง คือ การพูด, การฟัง และ การวาดภาพ ระหว่างผู้เข้าร่วม เป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการเชื่อมโยง ทำความรู้จักกัน เช่น บอกชื่อและกิจการ แล้ว ผู้เข้าร่วมเล่าจุดเด่น จุดแตกต่างของกิจการตัวเอง 

      ขุมทรัพย์ ในที่นี้ เปรียบกับ 5 จุดเด่นของ จ.แพร่ ในด้านต่างๆ ได้แก่ อาหาร, ของหวาน, สถานที่ท่องเที่ยว และ สถานที่ช้อปปิ้ง ให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยน วาดภาพประกอบลงในคู่มือที่จัดเตรียมไว้ เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้ง 5 อย่าง จากแต่ละคน เพื่อจัดทำข้อมูลส่วนกลางในการแนะนำนักท่องเที่ยวที่มายัง จ.แพร่ 

สวัสดีชาวแพร่

เวิร์คชอป Hello Phareวันที่ 22 มกราคม 2565

เป้าหมาย

       เวอร์ชวลเวิร์คชอป ถูกออกแบบด้วยแนวคิด Gamification สำหรับกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ จ.แพร่ (YEC) ผ่านแอพพลิเคชั่น Miro เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ฮัลโหล แพร่ เปรียบเทียบว่า นักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวที่แพร่ เหมือนมนุษย์ต่างดาว ที่ไมรู้จักว่าแพร่ เป็นอย่างไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง โดย มนุษย์ต่างดาวนั้นมีหลายแบบ หลายบุคลิก นิสัย และ ความชอบ เหมือนกับนักท่องเที่ยว มีเป้าหมาย ความคาดหวังในการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน
      Pharetopia คือ การผสมระหว่างคำว่า แพร่ กับ ยูโธเปีย หรือแพร่ในฝัน เป็นอย่างไร ผู้อบรมจะได้ Persona ของมนุษย์ต่างดาว 1 คน เลือกว่าจะออกแบบเมืองแพร่ในฝันผ่านการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเรื่องใด

วัตถุประสงค์ของโครงการ

       วัตถุประสงค์หลักเพื่อหาแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากทุนวัฒนธรรมในพื้นที่เขตเมืองเก่า จังหวัดแพร่ ที่ สามารถสร้างสรรค์ต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ก่อ ให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยการค้นหาทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา รวมทั้งผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรมในแต่ละชุมชน และ/หรือในพื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อนำมาศึกษาหาแนวทางการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรมจากฐานทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่มีอยู่ในการสร้างสรรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ

มูลค่ากับเศรษฐกิจ

       การสร้างมูลค่าใหม่ รวมทั้งการพัฒนาผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ บริการ ทางวัฒนธรรม และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ ในด้านความสามารถ ในการสร้างและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดกระบวนการการผลิตและ บริการ การจัดการและการตลาด โดยพัฒนาทักษะหรือองค์ความรู้ที่จำเป็น ต่อการประกอบธุรกิจในยุคใหม่ที่มีการแข่งขันสูง โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ วัฒนธรรมท้องถิ่นอันทรงคุณค่า อีกทั้งการส่งเสริมและการพัฒนาเครือ ข่ายผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรมทั้งกลุ่มทุนวัฒนธรรมประเภทเดียวกันและความเชื่อมโยงไปยังผู้ประกอบการทุนทาง วัฒนธรรมประเภทอื่น ทั้งในพื้นที่เดียวกันและนอกพื้นที่ชุมชน เพื่อให้เกิด คลัสเตอร์ที่เข้มแข็งในท้องถิ่น

ทำไมถึงเป็นแพร่

       แพร่ เป็นจังหวัดที่มีความงดงามด้วยวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีที่ล้ำค่าเก่าแก่ และได้รับสมญานามว่าเป็น “ประตูสู่ล้านนา” เนื่องจากมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อไปจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ แพร่เป็นเมืองแห่งไม้สักที่มีคุณภาพดีที่สุดและเป็นแหล่งผลิตผ้าหม้อห้อมที่ใหญ่ที่สุด มีการสืบทอดกันมายาวนานจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนด้วยเสน่ห์ของการย้อมผ้าแบบธรรมชาติ โดยใช้วัตถุดิบจากต้นห้อม ดังคำขวัญจังหวัดแพร่ “หม้อหอม ไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม”
      นอกจากนี้ แพร่ เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวัดวาอารามเก่าแก่ที่สะท้อนให้เห็นถึงศิลปะจากหลากหลายวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็น พุกาม หรือ ล้านนาก็ตาม นอกจากวัดเก่าแก่ที่มีความสวยงามแล้ว ก็ยังมีคุ้มวงศ์บุรีและคุ้มเจ้าหลวง ที่สะท้อนให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 คือเป็นอาคารที่ตกแต่งด้วยไม้ฉลุ หรือที่เรียกกันว่า ลายขนมปังขิง มีการผสมผสานกันระหว่างรายละเอียดของศิลปะไทยและโครงสร้างของศิลปะแบบยุโรป
       นอกจากความงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมเก่าแก่จากประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ จังหวัดแพร่นับว่าเป็นจังหวัดที่มีมรดกทางทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นและงานหัตถกรรมที่มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ ด้านวิชาการและการศึกษา และด้านศิลปะและสุนทรียภาพ ทำให้แพร่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากฐานทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านงานฝีมือและหัตถกรรม (Creative City of Craft)

แพร่สะพัด

เวิร์คชอป แพร่สะพัดวันที่ 31 มกราคม 2565สถานที่ ณ บุรี จ.แพร่

เป้าหมาย

           เวิร์คชอปสำหรับผู้ประกอบการ กาดกองเก่า เป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ Rebrand รวมถึงการจับคู่ระหว่างผู้ประกอบการ พัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ด้วยแนวคิดทุนทางวัฒนธรรมร่วมกัน ผ่านกิจกรรมทำความรู้จักกัน รู้จักมักจี่ ทำความรู้จัก ทำความเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร ผ่าน Persona และท้ายสุด มีแนวคิดในการพัฒนากาดกองเก่าอย่างไร ด้วยทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่